ระบบการศึกษา JCT
ระบบที่พัฒนาคุณในการบรรลุเป้าหมาย
หลักการของการพัฒนาตนเองมีอยู่ 3 ประการ “เริ่มต้นด้วยเป้าหมาย” “ตระหนักรู้ และเปลี่ยนแปลงตัวเอง” “สร้างกิจวัตรที่ดี และรักษามันไว้”
เพื่อการันตีการพัฒนาการในความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนของเรา เราได้เอาหลักการพัฒนาตนเอง 3 ประการนี้มาใช้ในระบบการศึกษาของเรา และนี่คือระบบการศึกษาของ JCT
J:Jikei Japanese Monitoring (การวัดระดับภาษาญี่ปุ่นของจิเค)
เข้าใจความสามารถภาษาญี่ปุ่นของคุณอย่างแม่นยำ
เราพัฒนา JJM เพื่อตรวจสอบและติดตามความสามารถทางภาษาของนักเรียนแต่ละคน เมื่อวัดความสามารถทาง “ตัวอักษรและคำศัพท์” “ความถูกต้องทางไวยากรณ์” “การอ่าน” และ “การฟัง” ตั้งแต่ระดับ A1 ถึง B1+ ของนักเรียนแล้ว คลาสเรียนในแต่ละหัวข้อจะถูกประกอบขึ้นจากบททดสอบวัดระดับนี้
C:Counseling (การแนะแนว)
วิเคราะห์ความสามารถของตัวเองจากผลการวัดระดับ
เมื่อทำการประเมิน JJM แล้ว อาจารย์ที่รับผิดชอบ (My Teacher) จะใช้ผลการประเมินนี้ในการให้การปรึกษาแนะแนวแก่นักศึกษาแต่ละคนเป็นรายบุคคล ส่งเสริมให้ผู้เรียนวิเคราะห์ตนเอง โดยครูจะช่วยสะท้อนภาพรวมของสถานการณ์ปัจจุบันของผู้เรียนและช่วยพิจารณาสิ่งที่ผู้เรียนอาจจะมองไม่เห็นได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจศักยภาพและระดับความสามารถของตนเอง เพื่อนำไปกำหนดเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม
การอาจารย์ที่รับผิดชอบ (My Teacher) [มาย ทีชเชอร์]
My Teacher เป็นผู้สนับสนุน “ของคุณโดยเฉพาะ” ที่จะอยู่เคียงข้างคุณตั้งแต่วันแรกที่เข้าศึกษาจนถึงวันสำเร็จการศึกษา ถึงแม้ห้องเรียนหรือระดับคลาสเรียนจะเปลี่ยนไป แต่ My Teacher ของคุณจะเป็นคนเดิมเสมอ เราจะติดตามกระบวนการเติบโตของนักศึกษาแต่ละคนอย่างใกล้ชิด และให้การสนับสนุนไม่เพียงแค่ในด้านการเรียน แต่ยังรวมถึงด้านแนะแนวอาชีพและการใช้ชีวิตอีกด้วย
ชีตการแนะแนว
โดยรวมแล้ว เอกสารนี้เน้นการประเมินความสามารถทางภาษาเป็นหลักเราอ้างอิงกรอบมาตรฐานการสอนภาษาญี่ปุ่นเพื่อเขียนคำอธิบายความสามารถทางภาษาของนักเรียนในรูปแบบของ Can do statement (รูปแบบการแสดงความสามารถในการจัดการภารกิจให้เสร็จสิ้น ที่เรียกว่า “สามารถทำ…ได้”) ระดับภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนอยู่ในระดับใด สามารถทำได้มากแค่ไหน จะถูกสะท้อนผ่านการประเมินของครูและการประเมินตนเองของนักศึกษา
ในทางกลับกัน ด้านหลังของเอกสารเป็นการประเมินความรู้ทางภาษาที่อ้างอิงจากผลลัพธ์ของ JJMยกตัวอย่างเช่น แม้ว่าจะเป็นชั้นเรียนระดับต้น แต่ความสามารถของนักศึกษาแต่ละคนก็จะมีความหลากหลายแตกต่างกันไป นักเรียนบางคนอาจจะถนัดด้านคำศัพท์ ในขณะที่บางคนอาจจะถนัดด้านการทำความเข้าใจหัวข้อหลักของบทความ เมื่อนักเรียนตรวจสอบว่าตัวเองเข้าใจแต่ละระดับและแต่ละหัวข้อได้มากน้อยแค่ไหน นักเรียนก็จะสามารถค้นพบจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองได้เช่นกัน
T: Target Setting (การตั้งเป้าหมาย)
กำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับภาคการศึกษาถัดไป
เมื่อใช้ชีทการแนะแนวเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของตัวเองแล้ว นักเรียนก็จะต้องกำหนดเป้าหมายระยะสั้นสำหรับอีกสามเดือนข้างหน้า โดยคำนึงถึงเป้าหมายหลักในการมาศึกษาในญี่ปุ่นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขจุดอ่อนหรือการพัฒนาจุดแข็งของตัวเอง นักศึกษาจะต้องเชื่อมโยงเป้าหมายของตัวเองเข้ากับสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้ในระดับถัดไป
“สร้างกิจวัตรที่ดี และรักษามันไว้”
วัดระดับความสามารถปัจจุบันด้วย JJM วิเคราะห์ศักยภาพของตัวเองผ่านการแนะแนว และกำหนดเป้าหมายสำหรับภาคการศึกษาถัดไป วงจรนี้จะถูกทำซ้ำทุกๆ 3 เดือนหรือทุกๆ ภาคการศึกษาจนเป็นกิจวัตร
- เข้าเรียนประเมินความสามารถทางภาษา
- การแนะแนว/ตั้งเป้าหมาย
- 3 เดือนหลังต่อมาประเมินความสามารถทางภาษา
- การแนะแนว/ตั้งเป้าหมาย
- 3 เดือนหลังต่อมาประเมินความสามารถทางภาษา
- บรรลุเป้าหมาย!